วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นักเคมีชาวฝรั่งเศส

File:Gaylussac 2.jpg

โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก (ฝรั่งเศสJoseph Louis Gay-Lussac; 6 ธันวาคม 1778 - 9 พ.ค. 1850) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เขาเป็นที่รู้จักในคนส่วนใหญ่สำหรับกฎสองข้อที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ และสำหรับผลงานของเขาในส่วนผสมของแอลกอฮอล์กับน้ำ, ซึ่งนำไปสู่​​สเกลองศาแก-ลูว์ซัก ใช้ในการวัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในหลายประเทศ

แก-ลูว์ซักเกิดที่เมืองแซ็ง-เลออนาร์-เดอ-นอบลา (Saint-Léonard-de-Noblat) ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอต-เวียน (Haute-Vienne)
พ่อของแก-ลูว์ซักชื่ออ็องตอนี แก เป็นลูกชายของแพทย์ ประกอบอาชีพทนายความและอัยการและทำงานเป็นผู้พิพากษาในหอบังคับการเรือแห่งนอบลา (Noblat) เป็นพ่อของลูกชายสองคนและลูกสาวสามคน เขาเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากของหมู่บ้านลูว์ซัก และมักจะใส่ชื่อของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งโอต-เวียนนี้ไว้ในชื่อของเขาตามธรรมเนียมในการปกครองระบบโบราณ (Ancien Régime) เข้าสู่ปี 1803 ในที่สุดพ่อและลูกชายได้นำชื่อ แก-ลูว์ซัก มาใช้ ในช่วงระหว่างการปฏิวัติ พ่อของเขาซึ่งเป็นอดีตอัยการของกษัตริย์ได้ถูกคุมขังอยู่ในแซ็ง-เลออนาร์ตั้งแต่ปี 1793-1794 อันเป็นผลมาจากกฎหมายผู้ต้องสงสัย (Law of Suspects)
เขาได้รับการศึกษาเป็นครั้งแรกที่อารามบูร์แด (Bourdeix) ต่อมาเขาได้เริ่มการศึกษาของเขาในปารีส โดยอยู่ในความดูแลของเจ้าอาวาสแห่งดูว์มงแตย์ (Dumonteil) ในที่สุดก็เข้าสู่โรงเรียนสารพัดช่าง (École Polytechnique) ในปี 1798 แก-ลูว์ซักหลีกเลี่ยงจากการเกณฑ์ทหารไปได้อย่างหวุดหวิด และในตอนที่เริ่มเข้าสู่สถาบันสารพัดช่างแห่งนี้ พ่อของเขาก็ได้ถูกจับคุมขัง (โดยน้ำมือของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ในช่วงยุคสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror)) สามปีต่อมา เขาได้ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนวิศวกรรมโยธา, และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับมอบหมายให้ ซิแอร์ เละเบะตูแลร์ (C.L. Berthollet) เป็นผู้ช่วยของเขา ในปี 1802 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำการทดลองสาธิตให้กับ อองทวน ฟังก์ซัว, คุม เดอ ฟุกควา (A. F. Fourcroy) ที่โรงเรียนสารพัดช่าง ซึ่งในที่สุด (ปี 1809) เขาก็ได้กลายเป็นศาสตราจารย์วิชาเคมี ตั้งแต่ปี 1808-1832 นั้น, เขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปารีส (Sorbonne), ตำแหน่งที่เขาลาออกนั้นเพียงเพื่อสำหรับตำแหน่งหัวหน้าของภาควิชาเคมีที่สวนพฤกษศาสตร์ ปารีสเท่านั้น (Jardin des Plantes) ในปี 1821 เขาได้รับเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (Royal Swedish Academy of Sciences) ในปี 1831 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของจังหวัดโอต-เวียน ในฐานะผู้แทนหอการค้าและในปี 1839 เขาก็ได้เข้ามาอยู่ในสภาขุนนาง

File:Louis Pasteur by Pierre Lamy Petit.jpg

หลุยส์ ปาสเตอร์ (play /ˈli pæˈstɜr/ภาษาฝรั่งเศส: [lwi pastœʁ] ; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) นักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
บิดาของปาสเตอร์เป็นช่างฟอกหนังชื่อ ชอง โจเซฟ ปาสเตอร์ เคยเป็นทหารผ่านศึกสมัยจักรพรรดินโปเลียน ฐานะของครอบครัวไม่ดีนัก เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดอาร์บัวส์ มีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์นอกจากนี้เขายังมีความสามารถพิเศษในการวาดรูปอีกด้วย [2]
ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ ต่อมาเขาก็ได้ไปเรียนที่กรุงปารีส แต่ก็ป่วยด้วยโรคคิดถึงบ้าน ก่อนจะกลับไปเรียนที่ปารีสอีกครั้งในภายหลัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1854 เขาได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยลิลล์

File:Antoine lavoisier color.jpg

อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (ฝรั่งเศสAntoine-Laurent de Lavoisier เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃twan lɔʁɑ̃ də lavwazje] ; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี
ผลงานที่สำคัญ
-ด้านวิทยาศาสตร์
ช่วงปี พ.ศ. 2318 อ็องตวนได้พัฒนาการผลิตดินปืน และการใช้โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว ในการเกษตร งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาก็คือ การทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาไหม้ เขากล่าวว่าการเผาไหม้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน และการสลายสารอาหารในสิ่งมีชีวิต ก็คือปฏิกิริยาการเผาไหม้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ช้าและอ่อนกว่า จนทำให้ทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งกล่าวว่า เมื่อสสารถูกเผาไหม้ ก็จะปล่อยสารที่เรียกว่าโฟลจิสตันออกมา ต้องมีอันยกเลิกไป
นอกจากนี้ อ็องตวนยังได้ค้นพบว่า "อากาศที่ไหม้ไฟได้" ของเฮนรี คาเวนดิช ซึ่งอ็องตวนเรียกมันว่า ไฮโดรเจน (ภาษากรีกหมายถึง ผู้สร้างน้ำ) เมื่อรวมกับออกซิเจนจะได้หยดน้ำ ซึ่งไปตรงกับผลการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์
ในด้านปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) อ็องตวนได้ทดลองเผาฟอสฟอรัสและกำมะถันในอากาศ และพิสูจน์ได้ว่ามวลของผลิตภัณฑ์มีมากกว่ามวลของสารตั้งต้น ซึ่งมวลที่เพิ่มได้มาจากอากาศนั่นเอง จึงทำให้เกิดกฎการอนุรักษ์มวล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎทรงมวล
หนังสือของเขาชื่อ Traité Élémentaire de Chimie พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2332 ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์มวล และปฏิเสธการมีอยู่ของทฤษฎีโฟลจิสตัน
-ด้านกฎหมายเเละการเมือง
นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น