วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สุดยอดโรงเเรมน้ำแข็ง



โรงแรมน้ำแข็ง Alta Igloo

โรงแรมน้ำแข็ง Alta Igloo ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคแลพแล็นด ของประเทศนอร์เวย์ โดยราคาเข้าพักจะอยู่ที่ 300 $ ต่อคน/คืน รวมค่าอาหารและค่านำเที่ยว

     และอันดับที่ 2 ก็คงจะเป็น โรงแรม Jukkasjarvi คือโรงแรมน้ำแข็งแรกของโลก ซึ่งสร้างขึ้นใกล้ๆกับ หมู่บ้าน Jukkasjarvi ที่ห่างจาก Kiruna , ประเทศสวีเดน ประมาณ 17 กิโลเมตร 



โรงแรม Jukkasjarvi 

ซึ่งภายในโรงแรมประกอบไปด้วย บาร์ , โบสถ์ , โถงกลาง , พื้นที่ต้อนรับ , ห้องพักเดียว และห้องชุด ที่รองรับนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 100 คน ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาพักจะต้องนั่ง นอน บนเก้าอี้น้ำแข็ง เตียงน้ำแข็ง และต้องนอนในถุงนอน รองด้วยหนังกวางเรนเดียร์ 



โรงแรมน้ำแข็ง Chapel 

 ต่อมาเป็นอัมนดับที่ 3 คือ โรงแรมน้ำแข็ง Chapel โดยโรงแรมแห่งนี้อยู่ใกล้ๆกับเขตควิเบก ประเทศแคนาดา โดยภายในโรงแรมมี 85 ห้อง, 13 ห้องสวีท, โรงภาพยนตร์, หอศิลป์, ผับ, ไอซ์เลานจ์ และอื่นๆอีกมาก 



กระท่อมน้ำแข็ง Dorf 

อันดับที่ 4 กระท่อมน้ำแข็ง Dorf อีกหนึ่งที่พักที่มีรูปแบบที่ค่อนข้างแตกต่าง เนื่องจากเป็นโรงแรมน้ำแข็งที่สร้างขึ้นในรูปแบบของหมู่บ้านเล็กๆที่ประกอบไปด้วยกระท่อมน้ำแข็งแสนโรแมนติก โดยโรงแรมแบบนี้ส่วนใหญ่จะพบในสวิสและเยอรมัน ภายในมีซาวน่าและบาร์ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว 



พิพิธภัณฑ์น้ำแข็งออโรร่า 

และสุดท้ายอันดับ 5 พิพิธภัณฑ์น้ำแข็งออโรร่า ตั้งอยู่ในในรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกาแห่ง โดย พิพิธภัณฑ์น้ำแข็งแห่งนี้ได้ประยุกต์ให้เป็นโรงแรมเพื่อให้ผู้คนได้สัมผัสกับความงดงามท่ามกลางความ หนาวเหน็บอย่างแท้จริง ภายในโรงแรมจะตกแต่งไปด้วยผลงานน้ำแข็งแกะสลักของ สตีฟ ไบรซ์ ซึ่งเป็นแชมป์แกะสลักน้ำแข็งอีกด้วย

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แปะก๊วย คืออะไรกันนะ?

แปะก๊วย (อังกฤษ : Ginkgo) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่า ตีนเป็ด จากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ 


ในแวดวงการแพทย์นั้นมีพืชสมุนไพรจากธรรมชาติที่มีสรรพคุณนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆได้อยู่หลากหลายชนิด ซึ่งชื่อของ ใบแปะก๊วย คือ หนึ่งในสมุนไพรสำคัญที่มากไปด้วยสรรพคุณทางยา และได้รับการยอมรับมาช้านาน โดยเชื่อกันว่ามันเป็นยาอายุวัฒนะ 



สรรพคุณที่ได้จากใบแป๊ะก๋วย
1.แปะก๊วย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ginkgo flavoneglycosides ลักษณะใบของมันจะแยกเป็นแฉกคล้ายกังหันลม เมื่อนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายพบว่ามีสารสกัดสำคัญ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มฟลาโวน (Flavonoids) ทำหน้าที่ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ส่วนที่เหลืออีกสองกลุ่มเป็นน้ำมันจากใบแปะก๊วย คือ bilobalides และ ginkgolides สารทั้งสองตัวนี้มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย คือ ป้องกันโรคความจำเสื่อม (โรคสมองฝ่อ) โดยเป็นตัวเสริมสร้างการ ส่งสัญญาณในระบบสมอง ช่วยระบบหมุนเวียนเลือดให้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดแผลเรื้องรังโดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่เป็นโรค เบาหวาน และช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายนิ้วมือและเท้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้

2.สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันจอตาเสื่อมจากเบาหวานหรือ "ภาวะเบาหวานขึ้นตา" จากการทดลองพบว่าหากให้ผู้ป่วยเบาหวาน และมีอาการทางตา เช่น การรับสีผิดเพี้ยนไป กินสารสกัดแปะก๊วยนาน 6 เดือน ปัญหาการมองเห็นสีดีขึ้น

3.ใบแปะก๊วยยังทำหน้าที่ป้องกันสารอนุมูลอิสระช่วยบรรเทาโรค ลดภาวะต่างๆที่มักพบได้ในคนชรา มีประโยชน์ในการรักษาโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ รวมทั้งอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน และภาวะหลังหมดประจำเดือนอีกด้วย เกี่ยวกับภาวะบกพร่องของสมองในส่วนซีรีบรัมนั้น ในประเทศเยอรมนีมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า กิงโกไบโลบา มาใช้บำรุงผู้ป่วยที่บกพร่องในโรคนี้ ซึ่งในปี 1980

4.มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัมและหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำและสมาธิได้ดีขึ้น

5.สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

6.ส่วนที่เกี่ยวกับสภาวะการหายใจนั้น ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย



สรรพคุณจากเมล็ดแป๊ะก๋วย
เนื้อในเมล็ดแปะก๊วย ประกอบด้วยไขมัน แป้ง โปรตีน และน้ำตาล มีรสหวานอมขมอมฝาด ช่วยบำรุงปอด แก้ไอ แก้หอบ ขับเสมหะ ลดปัสสาวะ ฆ่าเชื่อโรค บำบัดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ หลอดลมอักเสบ ตกขาว หนองใน แปะก๊วยสด ช่วยลดเสมหะ แก้พิษ ฆ่าพยาธิ ถ้านำมาโขลกทาบนใบหน้าและมือ ช่วยขจัดรอยเหี่ยวย่น รักษาอาการหืดได้ และเม็ดแป๊ะก๋วยก็สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหาร หรือทำขนมหวานต่างๆ ได้อีกด้วย 





macaron

ขนมมาการอง (Macaron) เป็นขนมหวานที่มีต้นกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส มีส่วนประกอบหลักของ Almond น้ำตาล และไข่ขาว มีลักษณะคล้ายคุ้กกี้ชิ้นเล็กสองอันประกบกันมีไส้ตรงกลาง มีสีสันสดใส กรอบนอกนุ่มใน สอดไส้ตรงกลางด้วยกานาช (Ganache) มีหลายรสชาติ เช่น ช็อกโกแลต สตรอเบอร์ รี่ วานิลลา อัลมอนด์ หรือผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น และมักนิยมทานคู่กับชา หรือ กาแฟ



มาการอง เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมัยนั้นข้าวยากหมากแพง เนื้อสัตว์ โปรตีนไม่มีให้รับประทานมากมายนัก เหล่าแม่ชีชาวอิตาเลียนที่อพยพมายังประเทศฝรั่งเศสจึงดำรงชีพอยู่ด้วยอัลมอนด์ เพราะมีคุณค่าทางอาหารไม่แพ้เนื้อสัตว์ โดยนำมาประกอบเป็นอาหารหรือขนมหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ ขนมจากอัลมอนด์ ซึ่งต่อมากลายเป็นของหวานที่ชาวฝรั่งเศสชื่นชอบมาจนถึงปัจจุบัน

สเน่ห์ของมาการองไม่ได้อยู่ที่สีสันสดใสเท่านั้น ว่ากันว่ามาการองที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่รูปร่างคล้ายกับโดมแบน ๆ มองดูจากด้านบนเป็นวงกลม ผิวด้านบนของขนมเรียบมันจากความละเอียดของอัลมอนด์บด ส่วนที่สำคัญคือ “Foot” บางตำราเรียก”Skirt” รอยหยักคล้ายลูกไม้ชายกระโปรงที่บางกรอบ ซึ่งมีวิธีการทำที่ยุ่งยากพอควร อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ กลิ่นหอมหวาน เคล็ดลับอยู่ที่หลังจากนำมาการอง 2 ชิ้นมาประกบกันแล้ว ต้องเก็บไว้ในที่เย็น 1 คืน เพื่อให้ไส้รสชาติต่าง ๆ ซึมซาบเข้าสู่ชั้นของคุกกี้ นอกจากนี้ความชื้นจากไส้ยังทำให้มากาฮองมีความนุ่มหนึบเวลาเคี้ยวอีกด้วย

คุณลักษณะของมาการองที่ดี จะต้องมีรสชาติที่ผสานกันอย่างลงตัวระหว่างไส้กานาชและเนื้อคุกกี้ ส่วนสูงที่สมดุลของตัวคุกกี้ชิ้นบนและล่างที่มีขนาดเท่า ๆ กัน รวมทั้งไส้ที่บีบพอดีขอบให้เห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ ตลอดทั้งชิ้น



ส่วน มาการูน (Macaroon) คือขนมที่ชาวอเมริกันดัดแปลงจากมากาฮองของประเทศฝรั่งเศสโดยใช้มะพร้าวป่น แทนอัลมอนด์บด ทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกขนมชนิดนี้ว่า “Coconut Macaroon” นิยมจุ่มลงในซอสช็อกโกแลตก่อนรับประทาน แต่ในศตวรรษที่ 20 ของหวานสไตล์ฝรั่งเศส เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศสหรัฐอเมริกา มาการูน จึงได้รับความนิยมน้อยลง บวกกับมะพร้าวหาได้ยากและมีราคาแพง ร้านขนมต่าง ๆ จึงหันมาใช้อัลมอนด์บดเหมือนมากาฮอง อันเป็นที่มาของความสับสนระหว่าง 2 คำนี้

**ใน ประเทศอังกฤษ ยังเรียก “Macaron” ว่า “Macaroon” เนื่องจากเป็นที่รู้จักและมีความเป็นสากลมากกว่า**