วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฌ็อง-มีแชล อ็องเดร ฌาร์ 
(Jean-Michel André Jarre)


     ฌ็อง-มีแชล อ็องเดร ฌาร์ (Jean-Michel André Jarre) นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวฝรั่งเศส ได้รับการยอมรับเป็นผู้บุกเบิกแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ นิวเอจ และแอมเบียนต์ มีการจัดการแสดงสดประกอบเอฟเฟกต์แสง สี เสียง เลเซอร์ พลุอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการแสดงครั้งสำคัญในงานฉลอง 850 ปีของกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1997 ซึ่งได้รับการบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่ามีผู้ชมมากถึงกว่า 3.5 ล้านคน

      ผลงานของฌ็อง มีแชล ฌาร์ มียอดขายทั้งสิ้นกว่า 80 ล้านแผ่น โดยชิ้นที่ประสบความสำเร็จที่สุด คืออัลบั้มที่ 3 และ 4 Oxygène (1976) และ Équinoxe (1978)

      ฌ็อง มีแชล ฌาร์ เกิดที่ลียง ประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรชายคนโตของมอริส ฌาร์ นักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ เจ้าของรางวัลออสการ์ 3 รางวัล กับฟรานซ์ ฌาร์ ภรรยาคนแรก พ่อกับแม่ของเขาแยกทางกันตั้งแต่เขาอายุเพียง 5 ปี โดยมอริส ฌาร์ ย้ายไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนฌ็องอาศัยอยู่กับแม่ในปารีส และไม่ได้พบกับพ่อจนกระทั่งอายุ 18 ปี

ผลงาน

สตูดิโออัลบั้ม

Deserted Palace (1972)
Les Granges brûlées (1973)
Oxygène (1976 in France, 1977 worldwide)
Équinoxe (1978)
Magnetic Fields (Les Chants Magnétiques) (1981)
Music for Supermarkets (Musique pour Supermarché) (1983, only one copy printed)
Zoolook (1984)
Rendez-Vous (1986)
Revolutions (1988)
Waiting for Cousteau (En attendant Cousteau) (1990)
Chronologie (1993)
Oxygene 7–13 (1997)
Métamorphoses (2000)
Interior Music (2001, Limited Edition for Bang & Olufsen, 1000 copies printed)
Sessions 2000 (2002)
Geometry of Love (2003)
Téo & Téa (2007)
Oxygene: New Master Recording (2007)

อัลบั้มบันทึกการแสดงสด

The Concerts in China (Les Concerts en Chine) (1982)
In Concert Houston-Lyon (1987, 1997 replaced by Cities In Concert Houston-Lyon)
Jarre Live (1989, 1996 renamed Destination Docklands)
Hong Kong (1994)
Paris Live Rendez-Vous '98 - Electronic Night (1998, included in the box set with the same name)
Jarre in China (2004)
Live From Gdańsk (Koncert w Stoczni) (2005, released as stand-alone CD exclusively in Central Europe)
Live Printemps de Bourges 2002 (2006, released exclusively on iTunes)

ประเทศเบลเยี่ยม 



     ประเทศเบลเยียม หรือ ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

      เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ๆ ได้แก่ฟลานเดอร์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอร์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย


สถานที่ท่องเที่ยวในเบลเยี่ยม

1.อะโตเมียม Atomium

       อะโตเมียม เป็นสถาปัตยกรรมลูกเหล็กทรงกลม ชึ่งเป็นสัญลักษณ์รูปโครงสร้างอะตอมที่ขยายใหญ่หลายล้านเท่าและสร้างขึ้นเป็นหอแสดงนิทรรศการระหว่างงาน Expo ปี 1958 ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็นแลนด์มาร์กใหม่อีกแห่งหนึ่งของเบลเยียมไปอย่างสมบูรณ์ ลักษณะของนั้น อะโตเมี่ยม มีความสูงประมาณ 108 เมตร ประกอบด้วยลูกบอลทีมีทั้งหมด 9 ลูกแต่ละลูกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 18 เมตร ในตัวอะโตเมี่ยมยังมีลิฟท์ที่เร็วที่สุดในยุโรป ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงถึง 5 เมตรต่อวินาที เจ้าอะโตเมี่ยม มีน้ำหนัก รวมกันประมาณ 2400 ตัน

2. แมนเนเกน พิส Manneken Pis


       แมนเนเกน พิส คือ น้ำพุเล็กๆ มีรูปหล่อทองแดงและเป็นลักษณะรูปเด็กชายยืนฉี่ ซึ่งจะเป็นจุดเด่นในย่านจัตุรัส กรองด์ปลาซที่ซึ่งมีผู้คนเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ทำให้สร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเป็นประติมากรรมที่มีมาตั้งแต่ปี 1987 เป็นผลงานการออกแบบของเดนิส อาเดรียน เดอบูรี จะมีลักษณะเป็นน้ำพุแบบโมเดิร์นรูปปั้นเด็กหญิงกำลังนั่งฉี่อย่างมีความสุข ความสูงประมาณครึ่งเมตร แต่เจนเนเค พิส ไม่ได้มีตำนานพิสดารอันใด ศิลปินแค่ทำขึ้นมาล้อเลียนเมนเนเกน พิส (Manneken Pis) เท่านั้นเอง เพื่อเรียกร้องความเสมอภาคทางเพศ

3. กรองค์ปลาซ Grand-Place




         กรองค์ปลาซ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นลานกว้างล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยตึกโบราณ ตึกส่วนใหญ่ล้วนมีลวดลายปูนวิจิตรแต้มทอง เป็นอาคารสไตล์บารอก ไม่ว่าจะเป็นศาลาว่าการเมือง พิพิธภัณฑ์ประจำเมือง อาคารของสมาคมอาชีพต่าง เป็นต้น ซึ่งจะมีจุดเด่นตรงที่บนจั่วหรือเหนือประตูจะเป็นลัญลักษณ์เฉพาะของตัวเอง


วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557


Brugge



     Brugge (บรูจจ์) เมืองบรูจจ์ เป็นเมืองริมชายฝั่งทะเลที่โด่งดังเมืองหนึ่งของประเทศเบลเยียม เมืองนี้ถูกล้อมรอบด้วยคูเมืองถึงสองชั้น ซึ่งน่าจะเป็นการป้องกันข้าศึกศัตรูในสมัยก่อนวิธีหนึ่ง ในปัจจุบัน บ้านเรือน อาคาร และโบสถ์ ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิมคือ เฟลมมิช และเรเนซอง   

     เมื่อมาเมืองบรูจจ์ ก็ต้องมองหาสถานที่ที่น่าสนใจและมีชื่อเสียง เลยเดินเข้าโบสถ์ซะเลย เพราะที่โบสถ์พระแม่มารีของเมืองนี้มีประติมากรรมหินอ่อนชื่อว่า Madonna & Child ที่งดงาม โดยแกะสลักจากฝีมือศิลปินชื่อก้องโลกอย่าง มิเคลันเจโล เมื่อเดินเข้ามาภายในมันช่างเงียบสงบสมกับเป็นโบสถ์จริงๆ และบรรยากาศก็เย็นๆ หันซ้ายแลขวา และแล้วสายตาก็มาปะทะกับประติมากรรมหินอ่อนอันเลื่องชื่อที่ดูอ่อนช้อยงดงาม ไม่รู้ว่าท่านมิเคลันเจโลทำได้อย่างไร สุดยอด!


      ตื่นจากความตะลึงได้สักพัก ก็เดินออกมาสู่จัตุรัสใจกลางเมือง เยี่ยมชมวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ ต่างออกมายืดเส้นยืดสาย นั่งจิบกาแฟรับแดดรับลมตามร้านอาหาร ที่มีอยู่รอบจัตุรัส ซึ่งก็มีกิจกรรมต่างๆ มากมายไม่ว่างเว้น ณ จัตุรัสกลางเมืองแห่งนี้ อย่างเทศกาลเบียร์ ก็จะมีขบวนพาเลสยกมาอวดโฉมแสดงถึงความเป็นมาแบบดั้งเดิม ผู้คนก็แต่งตัวแบบชาวพื้นเมือง เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวต่างเมืองยิ่งนัก



     Tongeren เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของประเทศเบลเยียม ตัวเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงหินที่ดูแน่นหนาแข็งแรง เมืองนี้นับว่าเป็นเมืองที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวต่างแดนมากที่สุด เพราะนอกจากประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว สถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงอยู่ มันเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้ศึกษาและใคร่รู้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพวกที่ชอบประวัติศาสตร์ต่างแดนอย่างเรา ที่สำคัญเมืองนี้เค้ามีไกด์คอยบอกกล่าวเล่าเรื่องราว และพาเดินชมรอบเมืองกันเป็นอาชีพเลยเชียว




วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557



 Ma projet avec des amis

- La place du Capitole

- Le couvent des Jacobins

- Le pont neuf

- Le canal du midi 

- La violette

- Le carnaval de Toulouse

- Airbus 


วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นักเคมีชาวฝรั่งเศส

File:Gaylussac 2.jpg

โฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก (ฝรั่งเศสJoseph Louis Gay-Lussac; 6 ธันวาคม 1778 - 9 พ.ค. 1850) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เขาเป็นที่รู้จักในคนส่วนใหญ่สำหรับกฎสองข้อที่เกี่ยวข้องกับก๊าซ และสำหรับผลงานของเขาในส่วนผสมของแอลกอฮอล์กับน้ำ, ซึ่งนำไปสู่​​สเกลองศาแก-ลูว์ซัก ใช้ในการวัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในหลายประเทศ

แก-ลูว์ซักเกิดที่เมืองแซ็ง-เลออนาร์-เดอ-นอบลา (Saint-Léonard-de-Noblat) ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอต-เวียน (Haute-Vienne)
พ่อของแก-ลูว์ซักชื่ออ็องตอนี แก เป็นลูกชายของแพทย์ ประกอบอาชีพทนายความและอัยการและทำงานเป็นผู้พิพากษาในหอบังคับการเรือแห่งนอบลา (Noblat) เป็นพ่อของลูกชายสองคนและลูกสาวสามคน เขาเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมากของหมู่บ้านลูว์ซัก และมักจะใส่ชื่อของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งโอต-เวียนนี้ไว้ในชื่อของเขาตามธรรมเนียมในการปกครองระบบโบราณ (Ancien Régime) เข้าสู่ปี 1803 ในที่สุดพ่อและลูกชายได้นำชื่อ แก-ลูว์ซัก มาใช้ ในช่วงระหว่างการปฏิวัติ พ่อของเขาซึ่งเป็นอดีตอัยการของกษัตริย์ได้ถูกคุมขังอยู่ในแซ็ง-เลออนาร์ตั้งแต่ปี 1793-1794 อันเป็นผลมาจากกฎหมายผู้ต้องสงสัย (Law of Suspects)
เขาได้รับการศึกษาเป็นครั้งแรกที่อารามบูร์แด (Bourdeix) ต่อมาเขาได้เริ่มการศึกษาของเขาในปารีส โดยอยู่ในความดูแลของเจ้าอาวาสแห่งดูว์มงแตย์ (Dumonteil) ในที่สุดก็เข้าสู่โรงเรียนสารพัดช่าง (École Polytechnique) ในปี 1798 แก-ลูว์ซักหลีกเลี่ยงจากการเกณฑ์ทหารไปได้อย่างหวุดหวิด และในตอนที่เริ่มเข้าสู่สถาบันสารพัดช่างแห่งนี้ พ่อของเขาก็ได้ถูกจับคุมขัง (โดยน้ำมือของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ในช่วงยุคสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror)) สามปีต่อมา เขาได้ย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนวิศวกรรมโยธา, และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับมอบหมายให้ ซิแอร์ เละเบะตูแลร์ (C.L. Berthollet) เป็นผู้ช่วยของเขา ในปี 1802 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ทำการทดลองสาธิตให้กับ อองทวน ฟังก์ซัว, คุม เดอ ฟุกควา (A. F. Fourcroy) ที่โรงเรียนสารพัดช่าง ซึ่งในที่สุด (ปี 1809) เขาก็ได้กลายเป็นศาสตราจารย์วิชาเคมี ตั้งแต่ปี 1808-1832 นั้น, เขาก็ได้เป็นศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยปารีส (Sorbonne), ตำแหน่งที่เขาลาออกนั้นเพียงเพื่อสำหรับตำแหน่งหัวหน้าของภาควิชาเคมีที่สวนพฤกษศาสตร์ ปารีสเท่านั้น (Jardin des Plantes) ในปี 1821 เขาได้รับเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (Royal Swedish Academy of Sciences) ในปี 1831 เขาได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของจังหวัดโอต-เวียน ในฐานะผู้แทนหอการค้าและในปี 1839 เขาก็ได้เข้ามาอยู่ในสภาขุนนาง

File:Louis Pasteur by Pierre Lamy Petit.jpg

หลุยส์ ปาสเตอร์ (play /ˈli pæˈstɜr/ภาษาฝรั่งเศส: [lwi pastœʁ] ; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) นักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410
ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม
ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
บิดาของปาสเตอร์เป็นช่างฟอกหนังชื่อ ชอง โจเซฟ ปาสเตอร์ เคยเป็นทหารผ่านศึกสมัยจักรพรรดินโปเลียน ฐานะของครอบครัวไม่ดีนัก เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดอาร์บัวส์ มีความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์นอกจากนี้เขายังมีความสามารถพิเศษในการวาดรูปอีกด้วย [2]
ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ ต่อมาเขาก็ได้ไปเรียนที่กรุงปารีส แต่ก็ป่วยด้วยโรคคิดถึงบ้าน ก่อนจะกลับไปเรียนที่ปารีสอีกครั้งในภายหลัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1854 เขาได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยลิลล์

File:Antoine lavoisier color.jpg

อ็องตวน-โลร็อง เดอ ลาวัวซีเย (ฝรั่งเศสAntoine-Laurent de Lavoisier เสียงอ่านภาษาฝรั่งเศส: [ɑ̃twan lɔʁɑ̃ də lavwazje] ; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2286 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2337) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งต้องจบชีวิตลงโดยกิโยติน เขามีผลงานสำคัญคือ ได้ตั้งกฎการอนุรักษ์มวล (หรือกฎทรงมวล) และการล้มล้างทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการศึกษาวิชาเคมี
ผลงานที่สำคัญ
-ด้านวิทยาศาสตร์
ช่วงปี พ.ศ. 2318 อ็องตวนได้พัฒนาการผลิตดินปืน และการใช้โพแทสเซียมไนเตรต หรือดินประสิว ในการเกษตร งานที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาก็คือ การทดลองเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเผาไหม้ เขากล่าวว่าการเผาไหม้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจน และการสลายสารอาหารในสิ่งมีชีวิต ก็คือปฏิกิริยาการเผาไหม้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ช้าและอ่อนกว่า จนทำให้ทฤษฎีโฟลจิสตัน ซึ่งกล่าวว่า เมื่อสสารถูกเผาไหม้ ก็จะปล่อยสารที่เรียกว่าโฟลจิสตันออกมา ต้องมีอันยกเลิกไป
นอกจากนี้ อ็องตวนยังได้ค้นพบว่า "อากาศที่ไหม้ไฟได้" ของเฮนรี คาเวนดิช ซึ่งอ็องตวนเรียกมันว่า ไฮโดรเจน (ภาษากรีกหมายถึง ผู้สร้างน้ำ) เมื่อรวมกับออกซิเจนจะได้หยดน้ำ ซึ่งไปตรงกับผลการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์
ในด้านปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) อ็องตวนได้ทดลองเผาฟอสฟอรัสและกำมะถันในอากาศ และพิสูจน์ได้ว่ามวลของผลิตภัณฑ์มีมากกว่ามวลของสารตั้งต้น ซึ่งมวลที่เพิ่มได้มาจากอากาศนั่นเอง จึงทำให้เกิดกฎการอนุรักษ์มวล หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กฎทรงมวล
หนังสือของเขาชื่อ Traité Élémentaire de Chimie พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2332 ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์มวล และปฏิเสธการมีอยู่ของทฤษฎีโฟลจิสตัน
-ด้านกฎหมายเเละการเมือง
นอกจากที่อ็องตวนจะศึกษาวิทยาศาสตร์แล้ว เขายังศึกษากฎหมายและการเมืองจนได้เป็นเนติบัณฑิต เมื่ออายุ 26 ปี เขาได้เป็นเจ้าพนักงานเก็บอากร ซึ่งเขาก็ได้ปรับปรุงระบบภาษีอากรและการคลัง พร้อมกับพัฒนาหน่วยวัดในระบบเมตริก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศฝรั่งเศส

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เที่ยวมงต์เปลลิเย่ร์ เมืองประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

การท่องเที่ยวฝรั่งเศส (France) คืออีกหนึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยประเทศฝรั่งเศส หรือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส นั้นถือว่าเป็นประเทศที่มี ศูนย์กลาง ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่นๆในต่างทวีป โดยมี กรุงปารีส (Paris) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ ของประเทศฝรั่งเศส.... 

 



     การท่องเที่ยวเมืองมงต์เปลลิเย่ร์ (Montpellier) อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและยังเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในรอบ 25 ปีที่ผ่านมาของประเทศฝรั่งเศส

     นอกจากนี้แล้ว เมืองมงต์เปลลิเย่ร์ ยังเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเอโร (Herault) ในแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon) ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมงต์เปลลิเย่ร์ (Montpellier University) อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย 



 
 สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองมงต์เปลลิเย่ร์นั้น สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่อยากแนะนำให้คุณไปเยือน คือ เพลซ เดอลา คอมเมดี (Place de la Comedie) จัตุรัสหลักที่ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักของเมืองมงต์เปลลิเย่ร์ โดยจัตุรัสนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของใจกลางเมือง

    โดยบริเวณรอบๆจัตุรัสประกอบไปด้วยเหล่าอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มากมาย ส่วนใจกลางจัตุรัสนั้นเป็นที่ตั้งของลานน้ำพุขนาดใหญ่ หรือที่มักเรียกกันว่า Three Graces น้ำพุแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1790 โดยปฏิมากร Etienne d Antoine


  

  หลังจากนั้นขอแนะนำให้คุณไปชม ประตูชัยฝรั่งเศส (Porte du Peyrou) ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของสวนรุกขชาติและสวนพฤกษศาสตร์Jardin des plantes โดยซุ้มประตูถูกออกแบบโดย Francois Dorbay การก่อสร้างแล้วเสร็จใน 1693 สถาปัตยกรรมการตกแต่งส่วนใหญ่จะแสดงเหตุการณ์สำคัญจากรัชสมัยของพระเจ้า หลุยส์ XIV 




ต่อมาขอแนะนำให้คุณไปเยือน สวนรุกขชาติและสวนพฤกษศาสตร์Jardin des plantes สวนพฤกษศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส โดยสวนนั้นถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1593 ภายในสวนมีการปลูกพืชพันธุ์กว่า 2,680 ชนิด รวมไปถึงพืชพันธุ์พื้นเมืองในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนอีก 500 กว่าชนิด


 
 
สุดท้ายขอแนะนำให้คุณไปชม มหาวิหารแซ็ง-ปีแยร์แห่งมงต์เปลลิเย่ร์ (Saint Pierre Cathedral) มหาวิหารนิกายโรมันคาทอลิกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอนุสาวรีย์แห่งชาติของ ฝรั่งเศส โดยในช่วงศตวรรษที่ 16 มหาวิหารได้รับความเสียหายจากสงครามศาสนาระหว่างชาวคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ เป็นอย่างมาก และในศตวรรษที่ 17 มหาวิหารได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเทศเซเนกัล

   เป็นประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาฝรั่งเศส มีวันชาติ 4 เมษายน  มีพรมแดนทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือจรดมอริเตเนีย ทางตะวันออกจรดมาลี และทางใต้จรดกินีและกินี-บิสเซา โดยล้อมแกมเบียซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศไว้เกือบทั้งหมด และมีหมู่เกาะเคปเวิร์ดตั้งอยู่ห่างจากชายแดนตะวันตกไปราว 560 กิโลเมตร  ในยุคอาณานิคม ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาและมีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และสามารถสยบรัฐมุสลิมรัฐสุดท้ายได้ในปี 1893 เซเนกัลตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนานถึง 300 ปี (1659-1960) และดาการ์กลายเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกาตะวันตก เซเนกัลได้รับ เอกราชโดยรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลีในวันที่ 20 มิถุนายน 1960 และได้ถอนตัวออกจากสหพันธรัฐเพื่อเป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1960  ยุคหลังได้รับเอกราช เมื่อเซเนกัลได้รับเอกราช นาย Leopold Sedar Senghor เป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นประมุขของประเทศ จนเมื่อปี 1980 นักการเมืองรุ่นใหม่ ได้กดดันให้เขาลาออกเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้นาย Abdou Diouf ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของเซเนกัลแทน และดำรงตำแหน่งต่อมาเป็นเวลา 19 ปี โดยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี 1983, 1988 และ 1993 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2000 นาย Diouf พ่ายแพ้แก่ผู้นำฝ่ายค้าน นาย Abdoulaye Wade เนื่องจากชาวเซเนกัลอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเกิดความเบื่อหน่ายในพรรคสังคมนิยมของนาย Diouf ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 40 ปี และมีความแตกแยกภายในพรรคสูง อนึ่ง เซเนกัลเคยรวมประเทศกับแกมเบียจัดตั้งสหพันธรัฐเซเนแกมเบียในปี 1982 แต่ก็กลับแยกกันดังเดิมอีกในปี 1989



    มีสถานที่น่าทึ่ง กับมหัศจรรย์สีหวานของ ทะเลสาบ Retba (เร็ตบา) ซึ่งถูกขนานนามว่า ทะเลสาบสีชมพู ดินแดนที่มีชื่อเสียงของกรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล ดินแดนซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา สีสันอันตื่นตาของ ทะเลสาบสีชมพู แห่งนี้ เกิดจากความเข้มข้นสูงของเกลือ ซึ่งสูงกว่า Dead Sea ประมาณหนึ่งเท่า จึงกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดยักษ์ของ ฮาโลแบคทีเรีย ซึ่งเป็น แบคทีเรีย halophile เซลล์เดียว ที่มีสีแดงหรือม่วง ชอบเจริญในบริเวณที่มีเกลือมาก โดยสีของ ทะเลสาบเร็ตบา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่สีม่วงไปจนถึงสีชมพูเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดที่ได้รับในแต่ละวัน